SC หนังสือ คุยกับลูกเรื่องเพศศึกษาให้เป็นวิชาที่ไม่ต้องรอครูสอน Sex Education for Parents ราคา 270 บาท
ราคา
270
บาท
ราคา
270
บาท
#Sex #Education for #Parents
#คุยกับลูกเรื่องเพศศึกษาให้เป็นวิชาที่ไม่ต้องรอครูสอน
#Bestseller ในประเทศญี่ปุ่น
หนังสือการ์ตูนความรู้อ่านง่าย
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกในวัย 3-10 ปี
#บทนำ
เมื่อพูดถึง “เพศศึกษา” หนังสือส่วนใหญ่มักจะมีเนื้อหาสำหรับผู้ปกครองหรือเด็กในวัยที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะช่วงก้าวเข้าสู่วัยรุ่น แต่หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมข้อมูลและแนวคิดเกี่ยวกับการพูดคุยและสอนลูกตั้งแต่วัยเด็ก โดยเน้นไปที่ครอบครัวซึ่งมีลูกอายุระหว่าง 3-10 ปี
อินเตอร์เนตได้กลายเป็นสิ่งใกล้ตัวตั้งแต่ในวัยเด็กเล็ก ปัจจุบันเด็กสามารถเข้าถึงข้อมูลเรื่องเพศได้อย่างง่ายดาย และมีข่าวเกี่ยวกับคดีที่มีเด็กเป็นเป้าหมายทางเพศให้เห็นมากขึ้น ระหว่างเลี้ยงลูกไป พ่อแม่ทุกคนต่างก็กังวลขึ้นมาว่า “ไม่อยากให้ลูกตัวเองเป็นทั้งผู้เสียหายหรือผู้ก่อความเสียหาย” แต่ในความเป็นจริง ตัวพ่อแม่เองก็ไม่เคยได้เรียนรู้เรื่องเพศอย่างจริงจัง และมีความรู้สึกว่า “อายที่จะพูดเรื่องเพศ…”
Table of Contents
#สารบัญ
เพศศึกษาที่บ้าน = การศึกษาเพื่อปกป้องคุ้มครองความสุขของลูก
ที่โรงเรียนไม่ได้สอน ? ข้อดีของการที่พ่อแม่สอนเอง
รู้หรือไม่ ? การเรียนการสอนเพศศึกษาที่โรงเรียนในปัจจุบัน รอให้ถึงวัยรุ่นก็สายเกินไป !?
อายุสำหรับการสอนเพศศึกษาที่บ้าน
การมีเพศสัมพันธ์อย่างระมัดระวัง อุปสรรคคือ “ความกลัว”
3 ประการแรกที่ควรสอนลูกที่บ้าน
พื้นที่ส่วนตัวที่ไม่ควรไปจับและไม่ควรให้ใครจับ
การกลั่นแกล้งทางเพศที่มักถูกมองข้าม ควรเป็นผู้ใหญ่ที่คอยรับรู้และเข้าใจ
“NO-GO-TELL” สิ่งที่ควรรู้เพื่อป้องกันอาชญากรรม
ปกป้องลูกจากอันตรายทางเพศ อย่าลังเล แจ้งตำรวจทันที !
สร้างความสัมพันธ์อย่างไรให้ลูกสามารถคุยกับพ่อแม่ได้ทุกเรื่อง ?
สร้างความอุ่นใจและความไว้วางใจในใจลูก “ออกซิโทซิน” ฮอร์โมนแห่งความสุข
เรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กับพ่อแม่ !
วิธีสอน สำหรับเด็กผู้ชาย
ข้อควรระวังเวลาสอนลูก (ทั้งลูกชายและลูกสาว)
ร่างกายและจิตใจของเด็กผู้ชาย
เป็นโรคหรือเปล่า ? ความกังวลใจและข้อสงสัยเกี่ยวกับอวัยวะเพศ
จัดการกับความว้าวุ่นใจอย่างไรดี ? เพราะไม่ใช่พ่อแม่และไม่ใช่เพื่อนนี่แหละ
การหลั่งน้ำอสุจิคืออะไร
เมื่อมีการหลั่งอสุจิครั้งแรก
อาบน้ำด้วยกันได้ถึงเมื่อไหร่ ? (ทั้งลูกชายและลูกสาว)
วัยรุ่นยังไม่มีความมั่นคง ช่วงเวลาที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ไปพร้อมกับความไม่สมดุลต่างๆ
วิธีสอนสำหรับเด็กผู้หญิง การตั้งครรภ์ การคลอดลูก
เจอแบบนี้ต้องทำยังไง !
Q&A เกี่ยวกับเรื่องเพศ
ลูกชอบพูดว่าขี้ ฉี่ จู๋ ฯลฯ อยู่บ่อยๆ ไม่รู้จะทำยังไงดี
เห็นลูกจับอวัยวะเพศตัวเอง
มีฉากบนเตียงระหว่างที่กำลังดูทีวีด้วยกัน
ลูกแอบดูวีดีโอโป๊ เว็บโป๊
หลีกเลี่ยงปัญหา !! ใช้ภูมิปัญญาของผู้ใหญ่ป้องกันปัญหาจากการใช้สมาร์ทโฟน
สามีหรือภรรยาไม่เข้าใจหรือไม่ให้ความร่วมมือเรื่องการสอนเพศศึกษา
จะสอนลูกเรื่องการคุมกำเนิดยังไงดี ?
เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เราต้องมีความรู้เรื่องการคุมกำเนิดและปฏิบัติตาม
ลูกจะมีเซ็กส์ได้ตั้งแต่เมื่อไหร่
เรื่องเพศที่ผู้ใหญ่ควรรู้ต่อจากนี้
เพศสัมพันธ์ “3 ประเภท”
self-pleasure (การช่วยตัวเอง) นั้นสำคัญกับทั้งผู้ชายและผู้หญิง
“การสัมผัสทางเพศ” ที่ไม่ใช่แค่เพียงการมีเซ็กส์ ?
เพศที่หลากหลาย (LGBT)
……………
ตัวอย่างในเล่ม
#การมีเพศสัมพันธ์อย่างระมัดระวัง
อุปสรรคคือ “ความกลัว”
เรื่อง “เพศ” ที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิตอย่างมีความสุขของเด็กๆ คือ ?
-> พ่อแม่อย่างเราสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้เด็กๆ สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อไปจากนี้ได้ ไม่ว่าใครก็น่าจะเคยคิดเรื่องนี้ แล้วคนส่วนใหญ่ก็ได้คำตอบว่าควรสังเกตและควบคุมพฤติกรรมของลูก
.
แต่พอลูกขึ้นชั้นมัธยม เราคงไม่สามารถไปเฝ้าดูลูกได้ตลอด 24 ชั่วโมง คราวนี้เลยพยายามจะควบคุมพฤติกรรมลูกด้วยคำพูด ซึ่งเรื่องที่มักพูดกันบ่อยๆ ก็คือ การตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจจนต้องทำแท้ง หรือไม่ก็ความน่ากลัวของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
.
กล่าวคือเป็นการสร้างภาพของเรื่องเพศในทางลบเพื่อไม่ให้เข้าใกล้ โดยทำให้เชื่อว่าเพศสัมพันธ์เป็น “การกระทำที่ไม่ดี” เช่น บอกว่าการทำแท้งนั้นเป็น “บาป” หรือเชื่อมโยงเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กับ “ความตาย” ทันที การทำเช่นนี้อาจเป็นการกำจัดภาพความสดใสอ่อนโยนเกี่ยวกับเรื่องเพศออกไป
.
แน่นอนว่าไม่มีใครต้องการให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ รวมไปถึงการทำแท้งหรือติดโรคจากการมีเพศสัมพันธ์ ถ้าเป็นไปได้ก็อยากใช้ชีวิตโดยปราศจากเรื่องเหล่านี้ แต่ความจริงเราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ได้ และมีการคิดค้นวิธีต่างๆ ขึ้นมากมายด้วย การทำแท้งที่เป็นไปตามเงื่อนไขก็เป็นเรื่องถูกกฎหมาย โดยถือว่า “ถึงจะน่าเศร้าแต่ก็เป็นเรื่องจำเป็น” โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็สามารถรักษาหายได้ถ้าพบในระยะแรกๆ หรือถึงจะไม่หายขาดก็ยังสามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติได้ถ้าได้รับยาอย่างต่อเนื่อง
.
ขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ว่าใครก็อยากใช้ชีวิตโดยปราศจากปัญหาเรื่องเพศกันทั้งนั้น เราจึงไม่ควรไป “ขู่” โดยนำไปเชื่อมโยงกับความกลัว บาป ความสิ้นหวัง และความตาย แต่ควรได้เรียนรู้ว่าปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร ป้องกันได้อย่างไร หรือถ้าผิดพลาดไปแล้วจะต้องทำอย่างไร และการสร้างความสัมพันธ์กับฝ่ายตรงข้ามก็สำคัญเช่นกัน ซึ่ง “ความกลัว” นี่แหละที่จะกลายเป็นอุปสรรค
.
เรื่อง “เพศ” ที่จะช่วยให้เรามีชีวิตที่มีความสุขนั้น ก็คือการเรียนรู้ข้อเท็จจริงอย่างถูกต้องและสื่อสารกับอีกฝ่ายด้วยคำพูด กล่าวได้ว่าการใช้ถ้อยคำที่เป็นการขู่ให้กลัวนั้นเหมือนเป็นการแสดงออกถึงความไม่ไว้วางใจในตัวเด็ก หรือความรังเกียจเรื่องเพศนั่นเอง
.
“ความไม่รู้และไม่เข้าใจเรื่องเพศ จะนำไปสู่พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ”
Be the first to comment