
แผนการจัดกิจกรรมจิตศึกษา ราคา 150 บาท
ราคา
150
บาท
ราคา
150
บาท
จิตศึกษา เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาปัญญาภายใน
เริ่มจากการฝึกฝนการรู้ตัว การระลึกรู้ในกาย รู้ความรู้สึกทางกาย รู้ความรู้สึกทางใจ และรู้ความคิดของตนเอง เพื่อนำสู่การใคร่ครวญให้ตระหนักในตน เคารพคุณค่าตนเอง คนอื่น และสิ่งอื่น เห็นการ เชื่อมสรรพสิ่งอย่างเป็นหนึ่งเดียวกัน (Oneness) และสามารถสร้างทางเลือกและตัดสินใจเลือกได้อย่างมีจริยธรรม มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ซึ่งต้องจัดการ 3 กระบวนทัศน์ให้สอดประสานกัน
1. การออกแบบจัดการให้องค์กรเป็นชุมชนสนามพลังบวก มีวิถี-วัฒนธรรมแบบใหม่ที่มีเหตุผล จัดการสภาพแวดล้อมให้สะอาด สงบ ร่มรื่น และปลอดภัย ทั้งปลอดภัยทางกาย (การเฝ้าระวังอาหารจำพวกน้ำตาล โซเดียม ไขมันทรานซ์) ความปลอดภัยทางใจ (การออกแบบเพื่อเฝ้าระวัง และ ลด Bully) ความปลอดภัยทางจิตวิญญาณ (ระวังการครอบงำความคิดความเชื่อโดยปราศจากเหตุผล)
2. การใช้จิตวิทยาเชิงบวก ลดการตัดสิน การเปรียบเทียบ การใช้คำพูดด้านลบ การทำโทษ และสร้างข้อตกลงร่วมในการปฏิบัติต่อกันอย่างเคารพในคุณค่าความเป็นมนุษย์
3. การจัดกิจกรรมจิตศึกษาสม่ำเสมอเพื่อฝึกฝนการตัดสินใจ
กิจกรรมจิตศึกษากับการสร้างแบบจำลองเหตุการณ์ทางจิต
มนุษย์มีสมองส่วนหน้าไว้คิดประมวลผลข้อมูล และมีเปลือกสมองส่วนหน้า (pre-frontal cortex) ทำหน้าที่ในการตัดสินใจตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ ในแต่ละวันเราต้องเผชิญช่วงเวลาการเลือกและตัดสินใจนับไม่ถ้วน จะกินอะไรดี จะซื้ออะไร จะทำอะไร แต่บางอย่างก็สำคัญกับชีวิตมาก ๆ ทั้งอาจไม่ได้มีโอกาสตัดสินใจได้หลายครั้งนัก เช่น การตัดสินใจเลือกคู่แต่งงาน เลือกสาขาที่เรียน เลือกอาชีพที่จะทำ เหตุการณ์สำคัญเหล่านี้มักจะนำมาซึ่งความไม่แน่ใจ ความลังเล จนไม่อาจตัดสินใจ หรือ ด่วนตัดสินใจจนผิดพลาดได้
มนุษย์มีวิวัฒนาการจนมีสัดส่วนน้ำหนักสมองต่อร่างกายมากกว่าสัตว์อื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อใช้บรรจุแบบจำลองเหตุการณ์ (mental simulation) ไว้มาก ๆ แล้วเมื่อถึงเหตุการณ์จริงสมองจะประมวลผลชั่งน้ำหนักข้อมูลใหม่ทั้งเทียบเคียงกับแบบจำลองเหตุการณ์ที่จดจำไว้นั้นด้วย แล้วจึงตัดสินใจ ซึ่งอาจทำได้เร็วขึ้นและมีโอกาสตัดสินใจได้ผลดีหรือตัดสินใจได้ถูกมากขึ้นด้วย
การจัดกระทำผ่านกิจกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของจิตศึกษา
กิจกรรมในคาบเวลาของ “จิตศึกษา”
โรงเรียนสามารถจัดเวลาสำหรับทำกิจกรรมจิตศึกษาเพื่อมุ่งเป้าหมายพัฒนาปัญญาภายในให้กับผู้เรียนไว้ โดยเฉพาะ ซึ่งควรใช้เวลาประมาณ 20 นาที ก่อนเรียนในภาคเช้า และ 15 นาที ก่อนเริ่มการเรียนในภาคบ่ายทั้งนี้จะได้คุณค่าเพิ่มตรงที่กิจกรรมจิตศึกษายังเป็นการเตรียมความพร้อมทั้งทางกายและใจให้กับผู้เรียนก่อนเรียนไปด้วยในตัว และอีกช่วงหนึ่งอาจจัดตอนสิ้นวันโดยใช้เวลาประมาณสัก 20-30 นาที เพื่อให้ทุกคนได้กลับมาสู่ความสงบ กลับมาสู่ตัวเอง แล้วใคร่ครวญและสะท้อนถึงสิ่งที่ได้เรียนมาทั้งวันก่อนการกลับบ้าน
กิจกรรมจิตศึกษา 20 นาทีในตอนเช้า
ครูจะออกแบบสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เผชิญไม่ซ้ำกันในแต่ละวัน ซึ่งมักเป็นสถานการณ์ที่นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้ประสบในชีวิตจริง ขณะเดียวกันที่เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองการตัดสินใจพร้อมให้เหตุผลของนักเรียนแต่ละคน นั่นก็จะทำให้นักเรียนคนอื่น ๆ พลอยได้รับประสบการณ์และเห็นการจำลองการตัดสินใจหลากหลายแบบด้วย พลอยสร้างแบบจำลองการเลือกตอบสนองต่อเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ได้หลายแบบด้วยสถานการณ์ที่ครูให้นักเรียนได้เผชิญทุก ๆ วันแบบไม่ซ้ำ ยังฝึกฝนทักษะสมอง EF โดยเฉพาะทักษะการดึงความจำเพื่อการ ใช้งาน ซึ่งก็คือการดึงเอาแบบจำลองเหตุการณ์ที่จำไว้จำนวนมหาศาลออกมาริเริ่มสร้างวิธีตอบสนองใหม่ ๆ อยู่เนือง ๆ จนเส้นทางวงจรประสาทคล่องตัว กลายเป็นคนที่มีทักษะสมอง EF สูง
นอกจากนี้ ในกระบวนการของกิจกรรมจิตศึกษายังสร้างแบบจำลองทางจิตอื่นที่สำคัญกับคุณภาพชีวิตของนักเรียนเอง เช่น การสร้างแบบจำลองของการอยู่ร่วมกันอย่างเคารพ การฟังอย่างเคารพ การอยู่ร่วมกันโดยอารมณ์เบิกบานผ่อนสบาย หรือ การสร้างแบบจำลองของการเข้าสู่โหมดสงบอยู่กับสติและการใคร่ครวญ ขณะที่ดำเนินชีวิตจริงแบบจำลองเหล่านี้ก็จะถูกดึงออกมาใช้อยู่เสมอ นั่นคือ ชีวิตที่มีสุขภาวะ
เป้าหมายของกิจกรรมจิตศึกษา 20 นาที มี 3 ระดับ มุ่งพัฒนาสมองส่วนหน้าและเปลือกสมองส่วนหน้า ดังนี้
1. เป้าหมายระดับต้น เพื่อฝึกฝน สติ การใคร่ครวญสู่การ เคารพคุณค่าในตัวเองและคนอื่น การเห็นความสัมพันธ์ความเชื่อมโยงของตนเองกับสิ่งต่าง ๆ และกำกับตัวเองได้
2. เป้าหมายระดับกลาง เพื่อฝึกฝนการตัดสินใจ
2.1 ตัดสินใจเชิงจริยธรรม คือ การมีวิจารณญาณในการเลือกที่จะทำสิ่งถูกมากกว่าการเป็นคนดี เป็นกิจกรรมฝึกฝนการทำงานของสมองส่วนหน้าเพื่อประวิงเวลา ไม่ผลีผลามกระทำ ชั่งน้ำหนักในการตัดสินใจ เลือก ตัดสินใจกระทำชั่งน้ำหนักมาก - น้อย เพื่อหาคุณค่าของสิ่งที่ทำ หรือ แสดงออกอย่างมีวิจารณญาณ
Be the first to comment