คู่มือร่างคำฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญา (ภาคปฏิบัติ) พิเชฐ โพธิวิจิตร เอกซเรย์ (๒) ตั๋วทนาย ราคา 466 บาท
ราคา
466
บาท
ราคา
466
บาท
หนังสือคู่มือร่างคำฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญา (ภาคปฏิบัติ) พิเชฐ โพธิวิจิตร เอกซเรย์ (๒) ตั๋วทนาย
ผู้แต่ง : พิเชฐ โพธิวิจิตร ปิติ โพธิวิจิตร ปริญญ์ โพธิวิจิตร
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 4 ปี 2567
จำนวนหน้า: 681 หน้า
ขนาด : 18.5×26 ซม. (w)
รูปแบบ : ปกอ่อน
9786166084931
คำนำ
อ่านคำนำนี้จบแล้ว ขอให้พลิกไปอ่านคำแนะนำครั้งที่ ๒ ขอย้ำว่าต้องอ่านเพราะมีประเด็นที่
น่าสนใจหลายประเด็นซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสอบตั๋วทนายความทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีอย่างยิ่ง
หนังสือเล่มนี้เปลี่ยนชื่อจาก “หนังสือคู่มือร่างฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาสำหรับผู้สอบตั๋ว
ทนายความภาคปฏิบัติ” มาเป็นชื่อใหม่ว่า “เอกชเรย์ (๒) ตั๋วทนาย คู่มือสอบตั๋วทนายความภาคปฏิบัติ”
หนังสือสอบตั๋วทนายความของผู้เขียนมีอีก ๒ เล่มคือ
“เอกซเรย์ (๑) ตั๋วทนาย คู่มือสอบตั๋วทนายความภาคทฤษฎี” ซึ่งออกวางจำหน่ายมาก่อนแล้ว
และ “เอกซเรย์ (๓) ตั๋วทนาย คู่มือสอบตั๋วทนายความสำหรับข้อสอบปรนัยและมารยาททนายความ”
ซึ่งกำลังจะออกมาวางจำหน่ายในเร็วๆ นี้
ชื่อใหม่ของหนังสือว่า “เอกซเรย์ (๒) ตั๋วทนาย” นอกจากชื่อจะสั้นเรียกง่าย เอกซเรย์ (๑) คือภาค
ทฤษฎี เอกชเรย์ (๒) คือภาคปฏิบัติ เอกซเรย์ (๓) คือปรนัย
ชื่อหนังสือว่าเอกชเรย์ยังบอกให้รู้ว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่เป็นการรวมตัวอย่างข้อสอบตั๋วทนายความ
เท่านั้นแต่จะอธิบายทุกแง่ทุกมุมของข้อสอบตั๋วทนายความให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่งเหมือนเครื่อง
เอกชเรย์ผู้ป่วยในโรงพยาบาล
รูปแบบการตอบข้อสอบในเอกชเรย์ ๑ ภาคทฤษฎีกับเอกซเรย์ ๒ ภาคปฏิบัติแตกต่างกัน ๑๐ㆍ
เปอร์เซ็นต์ ส่วนเนื้อหามีส่วนเหมือนกันราว ๗ㆍ เปอร์เซ็นต์และมีส่วนต่างกันราว ๓0 เปอร์เซ็นต์ส่วนที่
แตกต่างกันคือตัวอย่างข้อสอบ หลายข้อมีอยู่ในเอกชเรย์ (๒) แต่ไม่มีอยู่ในเอ็กชเรย์ (๑) ดังนั้นผู้สอบ
ตั๋วทนายภาคทฤษฎีที่ต้องการสอบให้ผ่านในครั้งเดียวและได้คะแนนดีเยี่ยมและเบื่อที่จะอ่านเอกซเรย์ (๑)
เพียงเล่มเดียวซ้ำกันหลายรอบ จึงควรอ่านเอกซเรย์ (๒) ควบคู่ไปด้วยเพื่อเป็นการทบทวนและที่สำคัญ
จะได้เห็นตัวอย่างข้อสอบที่แปลกใหม่ต่างออกไปจากเอกชเรย์ (๑)
ในการพิมพ์เอกชเรย์ (๒) ครั้งที่ ๓ นี้มีการปรับปรุงเนื้อหาที่สำคัญมากหลายเรื่อง เช่น
เรื่องการเพิกถอนนิติกรรม ซึ่งได้แก่
– การเพิกถอนนิติกรรมที่เกิดจากการฉ้อฉล เคยออกข้อสอบภาคปฏิบัติรุ่น ๒0 ภาคทฤษฎีรุ่น ๒๑
– การเพิกถอนนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์ เคยออกข้อสอบภาคปฏิบัติรุ่น ๓๑
– การเพิกถอนนิติกรรมที่เกิดจากการกระทำละเมิด เคยออกข้อสอบภาคปฏิบัติรุ่น ๓๓ รุ่น ๓๙
ภาคทฤษฎีรุ่น ๕๕
นิติกรรมทั้ง 3 ประเภทนี้มีความเหมือนและความแตกต่างกัน ต้องนำมาเปรียบเทียบกันจึงจะ
เข้าใจได้อย่างถ่องแท้
อีกเรื่องที่น่าสนใจมากคือคดีย้อนศร เป็นคดีที่ไม่เป็นไปตามปกติ เช่นสัญญาจำนองปกติลูกหนี้ผิด
ญญาผู้รับจำนองฟ้องบังคับจำนอง คดีย้อนศรคือผู้จำนองเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้จำนองฟ้องผู้รับจำนอง
ไถ่ถอนจำนอง หรือสัญญาเช่าอสังหาทรัพย์ ปกติผู้เช่าผิดสัญญา ผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่ผู้เช่า
คดีย้อนศรคือผู้ให้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้เช่าฟ้องผู้ให้เช่าให้จดทะเบียนการเช่า เป็นต้น ผู้สอบ
อาจศึกษาและทำความเข้าใจแต่คดีปกติเมื่อเจอคดีย้อนศร อาจจะงงไปไม่ถูก ตอบข้อสอบไม่ได้
นอกจากนี้เรื่องดอกเบี้ยอัตราใหม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๗ วรรคหนึ่งและมาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง
ลดดอกเบี้ยที่ไม่ได้กำหนดอัตราไว้เหลือเพียงร้อยละ ๓ ต่อปีและดอกเบี้ยผิดนัดเหลือเพียงร้อยละ ๕ ต่อปี
ก็ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดในหนังสือเล่มนี้แล้ว
หนังสือเล่มนี้เป้าหมายหลักคือใช้ในการสอบตั๋วทนายความ จึงอ้างอิงข้อสอบของสภาทนายความ
มากกว่าอ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะถือหลักลงเรือแป๊ะ ต้องตามใจแป๊ะ ประเด็นใดผิดประเด็นใดถูก
จึงถือตามแนวข้อสอบของสภาทนายความ ในการอ่านหนังสือเล่มนี้จึงควรมีหนังสือรวมข้อสอบของสภา
ทนายความไว้สำหรับตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมไปด้วย
ขอขอบคุณทุกท่านที่โทรศัพท์มาชื่นชมหนังสือเล่มนี้และกรุณาบอกกล่าวข้อผิดพลาดให้ผู้เขียนได้
แก้ไขให้ถูกต้อง
หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านตามสมควร
ขอให้เป็นกำลังใจให้ทุกท่านต่อสู้ฟันฝ่าผ่านพันอุปสรรคทุกประการประสบความสำเร็จสอบได้
ตั๋วทนายความดังที่หวังและได้ประกอบวิชาชีพทนายความดังที่ฝัน
พิเชฐ โพธิวิจิตร
อดีตผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
สารบัญ
เรื่อง
ภาคที่ ๑ แบบพิมพ์ศาล
แบบพิมพ์คำฟ้องคดีแพ่ง
แบบพิมพ์คำให้การ
แบบพิมพ์คำฟ้องคดีอาญา
แบบพิมพ์คำร้อง คำแถลง คำขอ
แบบพิมพ์สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล
แบบพิมพ์บัญชีระบุพยาน
แบบพิมพ์ใบแต่งทนายความ
แบบพิมพ์หนังสือ สัญญาต่างๆ
ภาคที่ ๒ กรเขียนชื่อคู่ความ
ภาคที่ ๓ การร่างคำฟ้องคดีแพ่ง
ก.คดีมีข้อพิพาทหรือคดีสองฝ่าย
บทที่ ๑ ส่วนประกอบของคำฟ้อง
บทที่ ๒ หน้าคำฟ้องคดีแพ่ง
บทที่ ๓ หลักการบรรยายคำฟ้องคดีแพ่ง
บทที่ ๔ การบรรยายสถานะโจทก์จำเลย
บทที่ ๕ การบรรยายนิติสัมพันธ์
บทที่ ๖ การโต้แย้งสิทธิ
บทที่ ๗ การบรรยายความเสียหาย
บทที่ ๘ การบรรยายการทวงถาม
บทที่ ๙ การบรรยายคำลงท้าย
บทที่ ๑0 การบรรยายคำขอท้ายคำฟ้อง
บทที่ ๑๑ การลงชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์
บทที่ ๑๒ การคำนวณทุนทรัพย์
การคำนวณต้นเงิน
การคำนวณดอกเบี้ยก่อนฟ้อง
ตัวอย่างการคำนวณทุนทรัพย์
บทที่ ๑๓ ตัวอย่างการร่างคำฟ้องคดีแพ่ง
กลุ่มที่ ๑ กู้ยืม ค้ำประกัน จำนอง
กลุ่มที่ ๒ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ
กลุ่มที่ ๓ ซื้อขาย จ้างทำของ
กลุ่มที่ ๕ ฟ้องขอให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และส่งมอบอสังหาริมทรัพย์
กลุ่มที่ ๕ หนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความ
กลุ่มที่ ๖ เพิกถอนนิติกรรม
กลุ่มที่ ๗ ละเมิด
กลุ่มที่ ๘ ภาระจำยอม ทางจำเป็น
กลุ่มที่ ๙ ตั๋วเงิน
กลุ่มที่ ๑๐ ประกันภัย รับช่วงสิทธิ
กลุ่มที่ ๑๑ มรดก
กลุ่มที่ ๑๒ คดีตามกฎหมายพิเศษ
ข.คดีไม่มีข้อพิพาทหรือคดีฝ่ายเดียว
คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
คำร้องคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดก
คำร้องขอให้เพิกถอนผู้จัดการมรดก
ภาคที่ ๔ การร่างคำให้การและฟ้องแย้ง
ภาคที่ ๕ การร่างคำฟ้องคดีอาญา
บทที่ ๑ ส่วนประกอบของคำฟ้อง
บท
Be the first to comment