
หนังสือ ครอบครัวจินตกรรม: บทวิพากษ์ว่าด้วยชุมชน การปกครอง และรัฐ โดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา และเพื่อน Illuminations Editions ราคา 304 บาท
ราคา
304
บาท
ราคา
304
บาท
ครอบครัวเป็นปราการด่านสุดท้ายของพื้นที่เสรีของกระฎุมพี (bourgeois) ที่รัฐไม่ควรเข้าไปก้าวก่าย กรอบความคิดเรื่องครอบครัวแบบนี้เป็นแนวทางเสรีนิยม แม้ว่าการเมืองการปกครองกับครอบครัวจะเกี่ยวพันกันมาหลายพันปี แต่ครอบครัวเพิ่งเริ่มจะแยกขาดออกจากการเมืองในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการปฏิวัติอเมริกาในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ครอบครัวได้กลายเป็นพื้นที่แห่งการประชันขันแข่งทางการเมืองของพวกอนุรักษนิยมใหม่ (neoconservative) และเสรีนิยมใหม่ (neoliberal) ซึ่งต่างพยายามส่งเสริม คุณค่าของครอบครัว บนฐานความเชื่อที่ว่าครอบครัว ตลอดจนคุณค่าอันเป็นที่รับรู้กันของครอบครัวในโลกสมัยใหม่นั้นกำลังเสื่อมสลายลง ด้วยเหตุนี้ การศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับรัฐส่วนใหญ่จึงถูกขับเน้นด้วยฐานคติทางอุดมการณ์ระหว่างเสรีนิยมกับอนุรักษนิยมหรือระหว่างฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวา จนราวกับว่าการเมืองเรื่องของครอบครัวเป็นเพียงประดิษฐกรรมของสภาวะสมัยใหม่
ครอบครัวมีบทบาทสำคัญมาก โดยเฉพาะระหว่างกระบวนการก่อสร้างรัฐสยามสมัยใหม่ การเทียบรัฐเป็นครอบครัวไม่ใช่ความคิดพิเศษ เช่นเดียวกับระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จในที่อื่น ๆ เช่น ระบอบนาซีเยอรมันและระบอบสตาลินในรัสเซีย สมาชิกของรัฐประชาชาติไทยถูกนับว่าเป็นสมาชิกของครอบครัวเดียวกัน กล่าวอีกทางหนึ่ง ครอบครัวกลายเป็นต้นแบบของรัฐประชาชาติ โดยที่ผู้ปกครองถูกแทนด้วยสัญญะของการเป็นพ่อ ดังนั้นรัฐประชาชาติจึงเป็น ครอบครัวจินตกรรม มากกว่า ชุมชนจินตกรรม อย่างไรก็ดีรัฐสมัยฝหม่ที่ยังไม่ได้มีความเป็นรัฐประชาชาติก็สามารถที่จะแสดงตัวผ่านครอบครัวได้เช่นกัน ทั้งนี้ครอบครัวแสดงความใกล้ชิดและเหนียวแน่น ครั้นเมื่อหัวหน้าครอบครัวจำาต้องรู้จักสมาชิกในครอบครัวของตน สมาชิกของครอบครัวจินตกรรมแต่ละคนจึงจำเป็นอยู่เองที่จะต้องถูกระบุตัวตนผ่านการมีนามสกุล อันเป็นกลไกสำาคัญของในการบ่งบอกว่าเป็นใคร (identification)
เมื่อรัฐและครอบครัวเป็นทองแผ่นเดียวกัน การสอดส่องดูแลสมาชิกของรัฐผ่านการใช้ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลภายในครอบครัวจึงเป็นวิธีการสอดส่องประชาชนที่ต้นทุนตำ่ โดยเฉพาะด้วยการใช้ประโยชน์จากเด็กในฐานะตัวแทนของการควบคุม เมื่อเด็กจำเป็นต้องได้รับการศึกษาภาคบังคับ เด็กจึงกลายเป็นซับเจค (subject) ของรัฐในขณะเดียวกันก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของครูผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐอีกทีหนึ่ง เมื่อคุณค่าของเด็กกลายเป็นเรื่องอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าเศรษฐกิจ จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กที่จะต่อรองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องทางอารมณ์กับผู้ปกครอง อารมณ์ทำให้ชีวิตในครอบครัวไม่มีความมั่นคง ด้วยเหตุนี้ เด็กในฐานะ ซับเจค ของรัฐจึงทำางานเป็น ตัวแทน ของรัฐ และถูกใช้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของพ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง
Be the first to comment